จากเส้นทางยาวนานที่เราดำเนินธุรกิจโอนเงินระหว่างประเทศ เรามีโอกาสเรียนรู้ระบบธนาคาร และธุรกรรมการเงินขนาดใหญ่ผู้ควบคุมกระแสเงินของโลกอย่าง Visa และ Master Card ทำให้เราเห็นภาพถึงความเป็นไปได้ และหยิบยกสิ่งที่เหมาะกับพวกเราคนไทยมาใช้ โดยดัดแปลงให้ง่ายขึ้น แต่มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยสูง ภายใต้ภาษาของเราเอง
โอนเงินต่างประเทศในระบบธนาคารมีหลากหลายวิธี ทั้งระบบ Bank และ Non-Ban
ระบบการโอนเงินของธนาคาร
การโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารที่หลายคนเข้าใจกันว่า ‘Online Banking’ ซึ่งแท้จริงแล้ว ธนาคารจะจำแนกออกมาเป็นอีกหลายระบบคือ
1. BACS PAYMENT
เป็นการดึงข้อมูลจาก Code บัญชีนึง ไปยังบัญชีนึง โดยสามารถทำได้การโอนทั้งใน และต่างประเทศ ซึ่งระบบนี้เป็นเกิดขึ้นมาช้านาน และนิยมใช้ในการเคลียส์เงินระบบเช็คเงินสดเป็นส่วนใหญ่ หรือแม้แต่การโอนเงินใน Online Banking Swift บางธนาคารก็ยังใช้อยู่ การโอนเงินประเภทนี้มีต้นทุนต่ำ และใช้เวลานาน 3-5 วันทำการ กว่าเงินจะเคลียส์ยังบัญชีผู้รับ
2. Faster Payment
การโอนเงินรูปแบบใหม่ที่นำมาใช้ใน UK ช่วงปี 2002 โดยธนาคารชั้นนำ 3 ธนาคารแรก คือ Barclays / HSBC / RBS นำมาใช้ในการโอนเงินระบบ Online Banking จากบัญชีผู้ส่ง ไปยังบัญชีผู้รับภายในประเทศเท่านั้น โดยการโอนแบบนี้เน้นที่ความรวดเร็วเป็นหลัก โดยจะบัญชีผู้รับปลายทางภายใน 2 ชั่วโมง แต่ถูกจำกัดในเรื่องของวงเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 10,000 ปอนด์ ต่อวันตามเงื่อนไขที่วางไว้กับแบ๊งค์ชาติ การโอนเงินรูปแบบนี้มีต้นทุนธนาคารที่สูงขึ้น ดังนั้นบางธนาคารอาจขอเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหากคุณไปแจ้งโอนเงินที่สาขาโดยตรงจากบัญชีของคุณ ไปยังผู้รับปลายทางให้ถึงเลยภายในวันเดียวกัน
3. CHAPS PAYMENT
รูปแบบการโอนเงินแบบไม่จำกัดวงเงินโอน โดยให้ถึงบัญชีผู้รับภายในวันเดียวกัน ซึ่งเหมาะกับยอดโอนขนาดใหญ่ เช่นการซื้อบ้าน หรือยอดโอนธุรกิจเป็นต้น การโอนในระบบนี้ส่วนใหญ่ผู้แจ้งโอนต้องไปทำธุรกรรมด้วยตนเองที่สาขาธนาคารโดยตรง โดยจะมีค่าธรรมเนียมแตกต่างกันไป
4. SWIFT PAYMENT
การโอนเงินต่างประเทศผ่านจากบัญชีธนาคารของตัวเอง ไปยังบัญชีผู้รับปลายทางที่อยู่ต่างประเทศ ซึ่งบัญชีผู้ส่ง และผู้รับนั้นสามารถเป็นทั้งสกุลเงินเดียวกันหรือไม่ก็ได้ รูปแบบการโอนเงินนี้ในภาษาการเงินเราเรียกว่า Cross Boarder Fund ที่หมายถึงการโอนเงินประเทศ ดังนั้นรายละเอียดบนบัญชีจะปรากฏว่าเป็นยอดเงินขาเข้าจากต่างประเทศ
ระยะเวลาในการรับเงินปลายทางนั้นขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย เช่น เวลาการเคลียส์เงินของแบ๊งค์พาณิชย์ กับแบ๊งค์ชาติ / Time Zone ที่แตกต่างกัน / เครือข่ายของธนาคารผู้ส่งกับแบ๊งค์คู่ค้าที่จะเคลียส์เงินให้ยังปลายทาง (Corresponds Bank)
ระบบการโอนเงินของ Non-Bank หรือบริษัทเอกชนที่มีใบอนุญาตกำกับภายใต้กระทรวงการคลัง
1. Acquiring & Payment Gateway
รูปแบบการโอนเงินผ่านบัตร Debit Credit หลากหลายแบรนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น Visa / Master Card / AMEX / Maestro เป็นต้น โดยดึงเงินผ่านระบบ API ในระบบให้อนุมัติดึงเงินจากบัญชีเรียกเก็บ มายังบัญชีที่ต้องการให้รับเงิน ซึ่งระบบนี้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายสำหรับอุตสาหกรรมการเงินอย่างหลากหลาย ในทุกระดับชั้น คุณอาจจะคุ้นตากับการจ่ายเงินซื้อของ Online จากเวปชื่อดังอย่าง Amazon หรือ e-Bay ที่จะเรียกถามข้อมูลบัตรธนาคารของคุณ และตัดเงินออกไปอัตโนมัติ พร้อมส่งของที่คุณต้องไปยังที่อยู่รับของทันที ดังนั้นบริษัทโอนเงินส่วนใหญ่ที่ใช้ระบบนี้จะเรียกเก็บเงินผ่านบัตรธนาคารของลูกค้าโดยตรง และให้ธนาคารสั่งจ่ายไปยังบัญชีผู้รับเงินปลายทางได้เมื่อระบบ Acquiring ยืนยันการรับเงินจากระบบ
2. Peer to Peer หรือ P2P
เป็นการโอนเงินต่างประเทศที่บริหารภายใต้ระบบข้อมูลเดียวกันบริษัทโอนเงิน โดยผู้ส่งเงินสามารถโอนเงินเข้าบัญชีบริษัทในประเทศนึง และบริษัทคู่ค้าในประเทศของผู้รับปลายทางเป็นผู้สั่งจ่ายให้แทน โดย 2 ประเทศนี้ จะดำเนินธุรกรรมภายในระบบเดียวกัน จึงสามารถทราบยอดโอน และรายละเอียดผู้รับปลายทางได้อย่างชัดเจน ผู้นำยักษ์ใหญ่ในวงการ P2P ของโลกคือ Western Union / Money Gram / Travelex ที่สังเกตุว่าจะมีสาขาอยู่แทบที่บนโลก โดยอาศัยร้านค้าเป็น ‘ตัวแทน’ โดยติดตั้งระบบการจัดการหลักให้ ซึ่งตัวแทนนั้นจะทราบได้ทันทีว่าใครต้องการมารับเงินที่ร้านของเค้า ที่ยอดเงินนั้นอาจถูกส่งมาจากต่างประเทศในสกุลเงินใดก็ได้
3. E-wallet
กระเป๋าตังค์สมองกลที่เข้ามามีบทบาทร้อนแรงในช่วงปี 2014 หลังวิกฤตเศรษฐกิจของยุโรป และการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงเรื่องการป้องกันการฟอกเงินที่มุ่งประเด็นจากเงินสดเป็นส่วนใหญ่ จากเหล่า Regulators ทั่วโลก
E-Wallet เป็นหนึ่งในนวัตกรรมภายใต้ กระแส Fintech ที่ยังร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ซึ่งเปรียบเหมือนกระเป๋าเงินในระบบอิเล็กทรอนิคที่ใช้เก็บเงิน และสามารถสั่งจ่ายได้อย่างเสรีเหมือนถือเงินสดไปจับจ่ายในที่ต่างๆ เพียงแต่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของ ‘คู่ค้า’ ที่ยังจำกัดอยู่บนหน้าคอมพิวเตอร์ และมือถือต่างๆ ภายใต้ร้านค้าที่ยินยอมรับเงินในระบบเหล่านี้เท่านั้น
E-wallet นั้นมีความปลอดภัยสูงภายใต้รหัสการป้องกันของเจ้าของบัญชีจัดตั้งเอาไว้ ดังนั้นถึงแม้จะถูกขโมยมือถือ เงินที่อยู่ในระบบก็ไม่สูญหายไปด้วย และสามารถตรวจเช็ค และทำรายสั่งจ่ายได้ปรกติเมื่อโหลด application เหล่านั้นออกมาใช้
E-wallet ในปัจจุบันคือเครื่องมือทางการเงินชนิดนึง ที่ทำงานอยู่ภายใต้ธนาคาร โดยที่คุณสามารถโหลดเงินจากบัญชีธนาคารเข้าไปยังระบบ E-Wallet ได้ ซึ่งเงินที่อยู่ในระบบแล้วเราเรียกมันว่า ‘E-Money’ หรือ Electronic Money นั่นเอง ส่วนรูปแบบการทำงานของระบบนั้นขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่แตก