รูปแบบการโอนเงิน

   จากเส้นทางยาวนานที่เราดำเนินธุรกิจโอนเงินระหว่างประเทศ เรามีโอกาสเรียนรู้ระบบธนาคาร และธุรกรรมการเงินขนาดใหญ่ผู้ควบคุมกระแสเงินของโลกอย่าง Visa และ Master Card ทำให้เราเห็นภาพถึงความเป็นไปได้ และหยิบยกสิ่งที่เหมาะกับพวกเราคนไทยมาใช้ โดยดัดแปลงให้ง่ายขึ้น แต่มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยสูง ภายใต้ภาษาของเราเอง

โอนเงินต่างประเทศในระบบธนาคารมีหลากหลายวิธี ทั้งระบบ Bank และ Non-Ban

ระบบการโอนเงินของธนาคาร

การโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารที่หลายคนเข้าใจกันว่า ‘Online Banking’ ซึ่งแท้จริงแล้ว ธนาคารจะจำแนกออกมาเป็นอีกหลายระบบคือ

1. BACS PAYMENT

   เป็นการดึงข้อมูลจาก Code บัญชีนึง ไปยังบัญชีนึง โดยสามารถทำได้การโอนทั้งใน และต่างประเทศ ซึ่งระบบนี้เป็นเกิดขึ้นมาช้านาน และนิยมใช้ในการเคลียส์เงินระบบเช็คเงินสดเป็นส่วนใหญ่ หรือแม้แต่การโอนเงินใน Online Banking Swift บางธนาคารก็ยังใช้อยู่ การโอนเงินประเภทนี้มีต้นทุนต่ำ และใช้เวลานาน 3-5 วันทำการ กว่าเงินจะเคลียส์ยังบัญชีผู้รับ

2. Faster Payment

   การโอนเงินรูปแบบใหม่ที่นำมาใช้ใน UK ช่วงปี 2002 โดยธนาคารชั้นนำ 3 ธนาคารแรก คือ Barclays / HSBC / RBS นำมาใช้ในการโอนเงินระบบ Online Banking จากบัญชีผู้ส่ง ไปยังบัญชีผู้รับภายในประเทศเท่านั้น โดยการโอนแบบนี้เน้นที่ความรวดเร็วเป็นหลัก โดยจะบัญชีผู้รับปลายทางภายใน 2 ชั่วโมง แต่ถูกจำกัดในเรื่องของวงเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 10,000 ปอนด์ ต่อวันตามเงื่อนไขที่วางไว้กับแบ๊งค์ชาติ การโอนเงินรูปแบบนี้มีต้นทุนธนาคารที่สูงขึ้น ดังนั้นบางธนาคารอาจขอเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหากคุณไปแจ้งโอนเงินที่สาขาโดยตรงจากบัญชีของคุณ ไปยังผู้รับปลายทางให้ถึงเลยภายในวันเดียวกัน

3. CHAPS PAYMENT

   รูปแบบการโอนเงินแบบไม่จำกัดวงเงินโอน โดยให้ถึงบัญชีผู้รับภายในวันเดียวกัน ซึ่งเหมาะกับยอดโอนขนาดใหญ่ เช่นการซื้อบ้าน หรือยอดโอนธุรกิจเป็นต้น การโอนในระบบนี้ส่วนใหญ่ผู้แจ้งโอนต้องไปทำธุรกรรมด้วยตนเองที่สาขาธนาคารโดยตรง โดยจะมีค่าธรรมเนียมแตกต่างกันไป

4. SWIFT PAYMENT

   การโอนเงินต่างประเทศผ่านจากบัญชีธนาคารของตัวเอง ไปยังบัญชีผู้รับปลายทางที่อยู่ต่างประเทศ ซึ่งบัญชีผู้ส่ง และผู้รับนั้นสามารถเป็นทั้งสกุลเงินเดียวกันหรือไม่ก็ได้ รูปแบบการโอนเงินนี้ในภาษาการเงินเราเรียกว่า Cross Boarder Fund ที่หมายถึงการโอนเงินประเทศ ดังนั้นรายละเอียดบนบัญชีจะปรากฏว่าเป็นยอดเงินขาเข้าจากต่างประเทศ

   ระยะเวลาในการรับเงินปลายทางนั้นขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย เช่น เวลาการเคลียส์เงินของแบ๊งค์พาณิชย์ กับแบ๊งค์ชาติ / Time Zone ที่แตกต่างกัน / เครือข่ายของธนาคารผู้ส่งกับแบ๊งค์คู่ค้าที่จะเคลียส์เงินให้ยังปลายทาง (Corresponds Bank)

ระบบการโอนเงินของ Non-Bank หรือบริษัทเอกชนที่มีใบอนุญาตกำกับภายใต้กระทรวงการคลัง

1. Acquiring & Payment Gateway

   รูปแบบการโอนเงินผ่านบัตร Debit Credit หลากหลายแบรนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น Visa / Master Card / AMEX / Maestro เป็นต้น โดยดึงเงินผ่านระบบ API ในระบบให้อนุมัติดึงเงินจากบัญชีเรียกเก็บ มายังบัญชีที่ต้องการให้รับเงิน ซึ่งระบบนี้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายสำหรับอุตสาหกรรมการเงินอย่างหลากหลาย ในทุกระดับชั้น คุณอาจจะคุ้นตากับการจ่ายเงินซื้อของ Online จากเวปชื่อดังอย่าง Amazon หรือ e-Bay ที่จะเรียกถามข้อมูลบัตรธนาคารของคุณ และตัดเงินออกไปอัตโนมัติ พร้อมส่งของที่คุณต้องไปยังที่อยู่รับของทันที ดังนั้นบริษัทโอนเงินส่วนใหญ่ที่ใช้ระบบนี้จะเรียกเก็บเงินผ่านบัตรธนาคารของลูกค้าโดยตรง และให้ธนาคารสั่งจ่ายไปยังบัญชีผู้รับเงินปลายทางได้เมื่อระบบ Acquiring ยืนยันการรับเงินจากระบบ

2. Peer to Peer หรือ P2P

   เป็นการโอนเงินต่างประเทศที่บริหารภายใต้ระบบข้อมูลเดียวกันบริษัทโอนเงิน โดยผู้ส่งเงินสามารถโอนเงินเข้าบัญชีบริษัทในประเทศนึง และบริษัทคู่ค้าในประเทศของผู้รับปลายทางเป็นผู้สั่งจ่ายให้แทน โดย 2 ประเทศนี้ จะดำเนินธุรกรรมภายในระบบเดียวกัน จึงสามารถทราบยอดโอน และรายละเอียดผู้รับปลายทางได้อย่างชัดเจน ผู้นำยักษ์ใหญ่ในวงการ P2P ของโลกคือ Western Union / Money Gram / Travelex ที่สังเกตุว่าจะมีสาขาอยู่แทบที่บนโลก โดยอาศัยร้านค้าเป็น ‘ตัวแทน’ โดยติดตั้งระบบการจัดการหลักให้ ซึ่งตัวแทนนั้นจะทราบได้ทันทีว่าใครต้องการมารับเงินที่ร้านของเค้า ที่ยอดเงินนั้นอาจถูกส่งมาจากต่างประเทศในสกุลเงินใดก็ได้

3. E-wallet

   กระเป๋าตังค์สมองกลที่เข้ามามีบทบาทร้อนแรงในช่วงปี 2014 หลังวิกฤตเศรษฐกิจของยุโรป และการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงเรื่องการป้องกันการฟอกเงินที่มุ่งประเด็นจากเงินสดเป็นส่วนใหญ่ จากเหล่า Regulators ทั่วโลก

   E-Wallet เป็นหนึ่งในนวัตกรรมภายใต้ กระแส Fintech ที่ยังร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ซึ่งเปรียบเหมือนกระเป๋าเงินในระบบอิเล็กทรอนิคที่ใช้เก็บเงิน และสามารถสั่งจ่ายได้อย่างเสรีเหมือนถือเงินสดไปจับจ่ายในที่ต่างๆ เพียงแต่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของ ‘คู่ค้า’ ที่ยังจำกัดอยู่บนหน้าคอมพิวเตอร์ และมือถือต่างๆ ภายใต้ร้านค้าที่ยินยอมรับเงินในระบบเหล่านี้เท่านั้น

   E-wallet นั้นมีความปลอดภัยสูงภายใต้รหัสการป้องกันของเจ้าของบัญชีจัดตั้งเอาไว้ ดังนั้นถึงแม้จะถูกขโมยมือถือ เงินที่อยู่ในระบบก็ไม่สูญหายไปด้วย และสามารถตรวจเช็ค และทำรายสั่งจ่ายได้ปรกติเมื่อโหลด application เหล่านั้นออกมาใช้

   E-wallet ในปัจจุบันคือเครื่องมือทางการเงินชนิดนึง ที่ทำงานอยู่ภายใต้ธนาคาร โดยที่คุณสามารถโหลดเงินจากบัญชีธนาคารเข้าไปยังระบบ E-Wallet ได้ ซึ่งเงินที่อยู่ในระบบแล้วเราเรียกมันว่า ‘E-Money’ หรือ Electronic Money นั่นเอง ส่วนรูปแบบการทำงานของระบบนั้นขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่แตก

A&B GENERAL (UK) Limited is regulated and authorised by the Financial Conduct Authority under the payment services (API) A&B General (UK) Limited is EMD Agent of the (EMI) Payrnet Limited and of Payrnet is authorised and regulated by the FCA registration number 716949 in UK. Registered Office: m228, Trident Business Centre,89 Bickersteth Road, London SW17 9SH. Company Registration number: 6928080

The card and accounts are issued by PayrNet Ltd and licensed by Mastercard International Incorporation. PayrNet Ltd is authorised by the FCA to conduct electronic money service activities under the Electronic Money Regulations 2011 (Firm Reference Number 900594).

The Financial Services Compensation Scheme does not cover electronic money products. No other compensation scheme exists to cover losses from your electronic money account. Your funds will be held in one or more segregated bank accounts with a regulated third party credit institution, in accordance with the provisions of the Electronic Money Regulations 2011.